การดำเนินโครงการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนจึงต้องอาศัยการบูรณาการหลายภาคส่วน ทั้งการมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนานโยบายที่เหมาะสม และการใช้วิทยาศาสตร์ในการฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่าให้สามารถดำรงอยู่ได้ในธรรมชาติ
ความสำคัญของความยั่งยืนในการอนุรักษ์สัตว์ป่า
การอนุรักษ์สัตว์ป่าจะเกิดผลอย่างยั่งยืนเมื่อสามารถสร้างสมดุลระหว่างความต้องการของมนุษย์และระบบนิเวศได้อย่างเหมาะสม ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของการอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้แก่
1. การฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่าในถิ่นอาศัยธรรมชาติ
การนำสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์กลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างเป็นระบบ ช่วยฟื้นฟูบทบาทของพวกมันในระบบนิเวศ ตัวอย่างเช่น การฟื้นฟูประชากรพญาแร้ง ซึ่งเป็นสัตว์กินซากที่ช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคและรักษาสุขอนามัยของป่า
2. การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคประชาสังคม
การอนุรักษ์ที่ยั่งยืนต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ การให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ จะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า
3. การสนับสนุนจากภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
นโยบายที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ เช่น การออกกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า และการจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการอนุรักษ์ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาแนวทางป้องกันภัยคุกคามต่อสัตว์ป่า เช่น การควบคุมการใช้สารเคมีในปศุสัตว์ที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร
4. การใช้เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์
การติดตามประชากรสัตว์ป่าด้วยเทคโนโลยี เช่น ระบบ GPS หรือกล้องดักถ่ายภาพ ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและปรับกลยุทธ์การอนุรักษ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพการศึกษาพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของสัตว์ป่า เพื่อให้สามารถออกแบบพื้นที่อนุรักษ์ที่เหมาะสม
บทบาทของ สผ.ในการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างยั่งยืน
กานดา ชูแก้ว เลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง กล่าวว่า แวดล้อมสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและวางแผนด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย บทบาทของ สผ. ในการอนุรักษ์สัตว์ป่า
1. กำหนดนโยบายและแผนแม่บทด้านการอนุรักษ์
สผ. มีหน้าที่จัดทำและผลักดัน แผนแม่บทด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการปกป้องและฟื้นฟูสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์สนับสนุนการดำเนินโครงการฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่า เช่น โครงการ ฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย ซึ่งช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศของผืนป่าห้วยขาแข้ง
2. การบูรณาการงบประมาณเพื่อการอนุรักษ์อย่างคุ้มค่า
การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบูรณาการงบประมาณร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้การอนุรักษ์สัตว์ป่าเกิดผลสูงสุด ส่งเสริม การวิจัยและพัฒนาด้านสัตว์ป่า โดยสนับสนุนโครงการที่ใช้เทคโนโลยีในการติดตามประชากรสัตว์ เช่น การใช้ GPS เพื่อติดตามการเคลื่อนที่ของสัตว์ที่ได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
ขอขอบคุณต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/environment/1170852